วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลทั่วไป จ.บุรีรัมย์




คำขวัญจังหวัดบุรีรัมย์
 

"บุรีรัมย์.... เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม"

ตราประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเส้น รุ้งที่ 15 ลิบดาเหนือกับ 15 องศา 45 ลิบดาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิบดา กับ 103 องศา45 ลิบดาตะวันออกอยู่ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตรมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 10,312.885 ตารางกิโลเมตรหรือ 6,451,178.125 ไร่คิดเป็นร้อยละ 6.11 ของพื้นที่ภาคและร้อยละ 2.01 ของประเทศมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้



ทิศเหนือ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์
ทิศใต้ จังหวัดสระแก้ว และราชอาณาจักรกัมพูชาประชาธิปไตย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก จังหวัดนครราชสีมา

ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดบุรีรัมย์มีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทางทิศเหนือ พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อย เป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขาและภูมิประเทศที่เกิดจากภูเขาไฟลักษณะ ภูมิประเทศที่สำคัญแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ
1.พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้ เป็นทีลอนลึก ภูเขาและช่องเขาบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก มีความสูงตั้งแต่ 200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่
ร้อยละ 25 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ บริเวณทิศตะวันตกของอำเภอ หนองหงส์ หนองกี่ ตอนใต้ของอำเภอนางรอง ปะคำ ละหานทราย และบ้านกรวด
2.พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด มีความสูงประมาณ 150 -200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางพื้นที่ทอดขนานเป็นแนวยาวทางทิศตะวันออกและตะวันตก
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่จังหวัดได้แก่บริเวณ อำเภอประโคนชัย พลับพลาชัย เมืองบุรีรัมย์ กระสัง ลำปลายมาศ คูเมือง บางส่วนของอำเภอนางรอง หนองกี่
หนองหงส์ สตึก พุทไธสง โดยบริเวณอำเภอบ้านกรวด นางรอง ลำปลายมาศ จะมีพื้นที่รายลุ่มบริเวณริมฝั่งลำน้ำและลำห้วย ได้แก่ ลำปลายมาศ ลำนางรอง ลำปะเทียบ ลำทะเมนชัยห้วยราช และห้วยตาดุง ส่วนพื้นที่ตอนใต้ของอำเภอพุทไธสง คูเมือง และ เมืองบุรีรัมย์ จะเป็นพื้นที่ภูเขาสูงและพื้นที่ป่าไม้
3.พื้นที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำมูล มีความสูงเฉลี่ยต่ำกว่า 150 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ตอนบนของอำเภอพุทไธสง คูเมือง สตึก และนาโพธิ์

จังหวัดบุรีรัมย์มีเทือกเขาและภูเขาอันเกิดจากการยกตัวของแผ่นดินในพื้นที่ต่างๆดังนี้
1.เทือกเขา
1.1 เทือกเขาสันกำแพง เป็นเทือกเขาที่ต่อจากเทือกเขากดงพญาเย็นนับตั้งแต่ เขาเขียวในเขตอำเภอเมืองนครนายก มาสิ้นสุดที่ช่องตะโก อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ยาวประมาณ 137 กิโลเมตร ยอดเขาสูงของเทือกเขาสันกำแพงที่สำคัญได้แก่ เขาเขียว สูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 1,090 ม. ภูสามง่าม 992 เมตร
เขาเคลียด 162 ม.เขาตำแย 445 เมตร เขาช้างชลูด 821 เมตร เขาใหญ่849 เมตร เขาจมูกแขก 457 เมตร ภูลำใย 484 เมตร เขากำแพง 875 เมตร ภูสองชั้น 369 เมตร เขาโปร่งฉนวน 1,090 เมตรเขาลอย 562 เมตร เป็นต้น
1.2 เทือกเขา (พนม)ดงรัก เริ่มจากช่องเขาตะโก ที่อำเภอโนนดินแดงทอดยาวไปทางตะวันออก เป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย-กัมพูชา ผ่านจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ สิ้นสุดที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวประมาณ 335 กิโลเมตร เทือกเขานี้ มีภูเขาสูงที่สำคัญคือ เขาตะแบก สูงประมาณ 334 เมตร จากระดับน้ำทะเลเขาคันนา 449 เมตร เขาตะแบง 350 เมตร เขาแหลม 415 เมตร เขาตาทอง 405 เมตร พนมตะบัน 579 เมตร พนมกระบานสตึง 559 เมตร พนมสวาย 615 เมตร พนมตาเหมือน 604 เมตร พนมแหลม 604 เมตร เขาพลานเตี้ย 663 เมตร พนมอ้ายนาก 638 เมตร พนมซำนิกาย 56 เมตร พนมเปาะ 449 เมตร ภูโคกใหญ่ 693 เมตร ภูเจ็บท้อง 693 เมตร ภูขี่ซีก 687 เมตร เป็นต้นเขตรอยต่อระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์กับราชอาณาจักรกัมพูชามีช่องเขา ที่สำคัญได้แก่ ช่องตะโกบ้านเสม็ด อำเภอโนนดินแดง อำเภอละหานทราย ได้แก่ช่องตาเพ็ด ช่องตากิ่ว และช่องบาระแนะ ช่องเขาในเขตอำเภอบ้านกรวดได้แก่ ช่องจันทร์กะฮอม ช่องไซร์ตะกู ช่องจันทรืแดง ช่องเมฆา ช่องโอบก ช่องจันทบเพชร เป็นต้น
2.ภูเขาไฟ จังหวัดบุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชามุดสอดลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกที่เป้นส่วนของ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยทำให้เกิดการยกตัวของแผ่นเปลือกโลก กลายเป็นเทือกเขาดงรักและเกิดแนวภูเขาไฟกระจายขนานอยู่ทางเหนือของเทือกเขา ดงรักตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพบมากที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ ภูเขาไฟที่พบในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอายุแตกต่างกันคือ ภูเขาไฟที่อยู่ใต้สุดใกล้เทือกเขาดงรักจะมีอายุมากที่สุด และภูเขาไฟที่อยู่ทางเหนือสุดห่างจากเทือกเขาดงรักจะมีอายุน้อยที่สุด จากการเปรียบเทียบวิวัฒนาการที่ราบสูงโคราช ประมาณว่า ภูเขาไฟกระโดง ซึ่งอยู่ทางเหนือสุดน่า จะมีอายุประมาณไม่เกิน 1 ล้านปี
ภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่
2.1 ภูเขาไฟพนมรุ้ง อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
2.2ภูเขาไฟอังคาร อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
2.3ภูเขาไฟไปรบัด อยู่ในเขตอำเภอประโคนชัย
2.4ภูเขาไฟหลุบ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
2.5ภูเขไฟกระโดง อยู่ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์
2.6ภูเขาไฟเขาคอก อยู่ในอำเภอประโคนชัย

นอกจากนี้ จ.บุรีรัมย์มีผืนป่ามากมาย มีทั้งป่าที่เป็นป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ป่าดงใหญ่ ป่าบ้านกรวดแปลง 5 ป่าโคกโจดแปลง 2 ป่าโคกใหญ่-หนองกระสรวล และป่าหนองหมี ป่าเขาอังคาร ป่าเขาพนมรุ้ง ป่าดงพลอง และมีป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย มี 2 ป่า คือ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อยู่ในเขต อ.ปะคำ และ อ.โนนดินแดง มีเนื้อที่ 195,586 ไร่ และ อุทยานแห่งชาติตาพระยา อยู่ในท้องที่อ.บ้านกรวด อ.โนนดินแดง อ.ละหานทราย มีเนื้อที่รวม 227,500 ไร่ และมีพื้นที่อีกส่วนหนึ่งอยู่ในเขต จ.สระแก้ว นอกจากนี้ยังมีเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (นก) ที่ อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ อ่างเก็บน้ำห้วยสนามบิน อ.ประโคนชัย อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระโดง ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 11-12)


ลักษณะภูมิอากาศจังหวัดบุรีรัมย์มีสภาพภูมิอากาศ
อยู่ภายใต้การควบคุมของปัจจัยที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ 1.ที่ตั้ง จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ในเขตร้อน จึงมีอุณหภูมิสุงตลอดปี
2.แนวเทือกเขาทางทิศใต้ ทิศใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์มีเทือกเขาดงรักและเทือกเขาสันกำแพงขวางทิศทาง ของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เขตจังหวัดบุรีรัมยจึงเป็นเขตเงาฝนหรือเขตบังลม
3.ลมประจำที่พัดผ่าน มีลมมรสุมและลมพายุพัดผ่านความชื้นและความหนาวเย็นจะเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของลมประจำดังกล่าว
4.ระยะห่างจากทะเล จังหวัดบุรีรัมย์อยู่ห่างจากทะเลด้านฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย(จังหวัดชลบุรี )ประมาณ 350 กิโลเมตรอิทธิพลจากทะเลเข้าถึงน้อยทำให้ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ โดยทั่วไปจึงมีลักษณะอากาศค่อนข้างรุนแรง คือ ฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำและฤดูร้อนอุณหภูมิสูงแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน

การปกครอง

จังหวัดบุรีรัมย์แบ่งการปกครองออกเป็น 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ดังนี้

1. อำเภอเมืองบุรีรัมย์

2. อำเภอคูเมือง

3. อำเภอนางรอง

4. อำเภอลำปลายมาศ

5. อำเภอสตึก

6. อำเภอพุทไธสง

7. อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

8. อำเภอนาโพธิ์

9. อำเภอประโคนชัย

10. อำเภอกระสัง

11. อำเภอห้วยราช

12. อำเภอพลับพลาชัย

13. อำเภอบ้านกรวด

14. อำเภอละหานทราย

15. อำเภอหนองกี่

16. อำเภอโนนดินแดง

17. อำเภอปะคำ

18. อำเภอโนนสุวรรณ

19. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

20. อำเภอหนองหงส์

21. อำเภอชำนิ

22. กิ่งอำเภอบ้านด่าน

23. กิ่งอำเภอแคนดง

สภาพเศรษฐกิจ

ด้านเกษตรกรรม ประชากรในจังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณร้อยละ 87 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน ซี่งพืชเศรษฐกิจ ที่ปลูกกันมาก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ อ้อย หม่อน ยางพารา และผลไม้ต่าง ๆ เช่น มะม่วง ฝรั่ง มะขามหวาน สัมโอ ฯลฯ จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ ปลูกข้าวทั้งหมด 3,278,013 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 976,475,495 กิโลกรัม คิดเป็น 319 กิโลกรัมต่อไร่
นอกจากนี้ชาวบุรีรัมย์ยังประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เลี้ยงกันในครัวเรือน สัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมากคิดเป็นปริมาณ ในพ.ศ. 2541 ตามลำดับดังนี้ ไก่ สุกร กระบือ โค และ ห่าน สำหรับอาชีพประมงในจังหวัดบุรีรัมย์มีการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดและกุ้งก้ามกราม ในบางพื้นที่ เฉพาะ การเลี้ยงปลาน้ำจืด คิดเป็นปริมาณ การเลี้ยง ในพ.ศ. 2541 มีถึง 13,183 ตัว
ด้านอุตสาหกรรม ในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงสีข้าว ผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้ โรงโม่หิน โรงงานสุรา โรงงานผลิต อาหารสำเร็จรูป โรงงานน้ำตาลทรายขาว โรงงานทำวิกผม และโรงงานผลิตไหมพรม เป็นต้น จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2541 พบว่าในจังหวัดบุรีรัมย์ มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ดังนี้
ประเภทอุตสาหกรรมเกษตร 83 แห่ง
ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร/เครื่องดื่ม 25 แห่ง
ประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปไม้/ผลิตภัณฑ์ไม้ 25 แห่ง
ประเภทอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง 75 แห่ง
บริการอื่น ๆ 71 แห่ง
อื่น ๆ 10 แห่ง
รวม 289 แห่ง
จังหวัดบุรีรัมย์ มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคล ในพ.ศ. 2539 (ณ ราคาตลาด) 21,624 บาท ต่อคน ต่อปี เป็นลำดับที่ 12 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นลำดับที่ 68 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดบุรีรัมย์ ข้อมูลพ.ศ. 2539 (ณ ราคาคงที่ พ.ศ. 2531) มูลค่า 31,797,870,000 บาท รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาค้าส่ง และค้าปลีกมากที่สุดถึงร้อยละ 23.19 คิดเป็นมูลค่า 7,372,816,000 บาท รองลงมาเป็นสาขาเกษตรกรรมร้อยละ 23.18 คิดเป็นมูลค่า 7,362,838,000 บาท และสาขาบริการร้อยละ 13.71 คิดเป็นมูลค่า 4,358,290,000 บาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.80
ในด้านการเงินการธนาคาร พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2541 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดบุรีรัมย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยอดเงินสูงสุดใน
พ.ศ. 2541จำนวน 11,470 พันล้านบาท

สภาพสังคม

การศึกษา : มีสถาบันการศึกษา ระดับอนุบาล/มัธยม 942 แห่ง จำนวนครู 13,412 คน นักเรียน 298,158 คน ระดับอาชีวศึกษา /อุดมศึกษา 9 แห่ง อาจารย์ 624 คน นักศึกษา 15057 คน (2545)
ศาสนา : ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ 99 % วัด 808 แห่ง สำนักสงฆ์ 504 แห่ง โบสถ์คริสต์ 14 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง
ภาษาท้องถิ่น : ภาษาลาวอีสาน เขมร ไทยโคราช

http://intranet.m-culture.go.th/buriram/eco.html



1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เป็นจังหวัดใหญ่ ที่น่าไปเยี่ยมชมมากครับ

ผมตั้งใจจะไปหลายครั้งแล้ว ไม่ได้ไปสักที ปีหน้า อาจจะได้ไป เพราะจะพาแฟนกลับบ้าน

แสดงความคิดเห็น